ติดตั้ง EV CHARGER ยังไงให้ปลอดภัย ? | EV Charger Installation
1.) ห้าม ใช้เต้ารับชนิดหยิบยกได้ ( PORTABLE SOCKET OUTLET ) ในการจ่ายไฟให้เครื่องชาร์จ
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปลั๊กพ่วงนั้นแหละครับ ห้าม ใช้เด็ดขาดครับอันตรายมาก
2.) สายป้อนและสายเมนของเครื่องชาร์จ กำหนดค่า DEMAND FACTOR เท่ากับ 1.0
3.) สายวงจรย่อย ของเครื่องชาร์จ กำหนดค่า DEMAND FACTOR เท่ากับ 1.25
4.) ต้องมีสายดินและมีการต่อสายลงดินที่ถูกต้องและมีค่าความต้านทานดินไม่เกินมาตรฐาน
5.) ต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายบุคคล มีรายละเอียดดังนี้
5.1 อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCD TYPE B คือ สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤ 30 mA. และ DC ที่ <6 mA.
5.2 อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCD TYPE A คือ สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤30 mA. และมีฟังช์ชั่นการตรวจจับ
การรั่วไหลของ DC ที่ <6 mA.
ข้อ 5 นี้สำคัญนะครับหลายแบรนด์ไม่มีโหมดป้องกันไฟรั่ว DC <6 mA. ต้องติดตั้งเพิ่มเติมครับ ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกมาก DC FAULT CURRENT นี้มักเกิดกับอุปกรณ์ที่เป็นวงจร CONVERTER คือวงจรสำหรับการแปลงไฟฟ้าจาก AC เป็น DC เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ที่มีการติดตั้งใช้ในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้า การรั่วของ DC FAULT CURRENT นี้ไม่ได้ทำอันตรายโดยตรงมาที่คนครับแต่จะมีผลต่อ RCD TYPE A ทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็นครับ ( ช่างไฟฟ้าเรียกกันว่าทำงานหลุด CURVE ครับ )
ในกรณีของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดหรือรถไฟฟ้าที่ยังใหม่ๆอยู่ปัญหาของ DC FAULT CURRENT อาจไม่มากนัก แต่คิดดูครับว่า รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้านเราต้องเจอความร้อนเกิน 30 Co, ฝน , น้ำท่วม , ความชื้น เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านไปเป็นปีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เหล่านี้ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพได้ อีกทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าก็มีการชาร์จไฟฟ้าในโรงรถที่บ้าน ถ้ามีไฟรั่วเกิดขึ้นย่อมอันตรายต่อผู้พักอาศัยเช่น คุณพ่อ , คุณแม่ , ลูก , หลานและผู้คนที่ต้องผ่านเข้าไปในบริเวณที่จอดรถนั้นๆ ดังนั้นจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะละเลยไฟรั่วทั้ง 2 แบบ ทั้ง AC และ DC